สนใจเทรดออนไลน์

สมัครเทรดออนไลน์

Morning Report 17 กุมภาพันธ์ 2564
แนะแนวทางการลงทุน

     ทองคำปรับตัวลงโดยได้รับแรงกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ และการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์  หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์กเปิดเผยดัชนีภาคการผลิตพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือนนักลงทุนลดการถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย  ไปถือสินทรัพย์เสี่ยง

 Date 17 Febuary 2021
 Commodity Gold
 Buy/Sell รอซื้อ
 Entry จุดซื้อ 1,779
 Target 1,798
Stoploss 1,768
Level  แนวรับ
(Support)
 แนวต้าน
(Resistance)
 L1 1,779 1,798
 L2 1,775 1,805
 L3 1,770 1,811
สรุปแนวโน้มช่วงเช้า

    ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์กเปิดเผยดัชนีภาคการผลิตพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน รายงานการประชุมประจำเดือนม.ค.ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อจับสัญญาณเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟดในอนาคต
    มุมมองทองคำภาคเช้า   ทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงหลุดจากระดับ 1,800 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ (16 ก.พ.) โดยได้รับแรงกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ และสกุลเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า นอกจากนี้ นักลงทุนยังเทขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยหลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์กเปิดเผยดัชนีภาคการผลิตพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน
    อย่างไรก็ดี นักลงทุนยังต้องคอยติดตามตัวเลขที่จะประกาศในรอบสัปดาห์ ได้แก่  ยอดค้าปลีก  ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม  อัตราการใช้กำลังการผลิต  สินค้าคงคลังภาคธุรกิจ  ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัย  รายงานการประชุม FOMC  จำนวนบ้านใหม่ที่กำลังก่อสร้าง  ใบอนุญาติก่อสร้างที่อยู่อาศัย  จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน  ดัชนีภาคการผลิตเฟด สาขาฟิลาเดเฟีย  ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต  ดัชนีภาคการบริการ  ยอดขายบ้านมือสอง เป็นต้น   
 

Market Price
สภาวะแลกเปลี่ยนเงินตรา

     ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์กเปิดเผยดัชนีภาคการผลิตพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน รายงานการประชุมประจำเดือนม.ค.ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อจับสัญญาณเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟดในอนาคต      

สรุปข่าวเศรษฐกิจ
เกาหลีเหนือ: เกาหลีเหนือพยายามขโมยข้อมูลวัคซีนของไฟเซอร์

      หน่วยข่าวกรองเกาหลีใต้เปิดเผยในวันนี้ว่า เกาหลีเหนือพยายามเจาะระบบคอมพิวเตอร์ของไฟเซอร์ บริษัทผู้ผลิตยารายใหญ่ของสหรัฐ เพื่อขโมยข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 รวมถึงเทคโนโลยีการรักษา   National Intelligence Service (NIS) หรือหน่วยข่าวกรองของเกาหลีใต้ รายงานในระหว่างการประชุมสภาซึ่งไม่เปิดให้สื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟังว่า ตัวเลขเฉลี่ยรายวันของการโจมตีทางไซเบอร์ในเกาหลีเหนือเพิ่มขึ้น 32% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นประมาณ 1.58 ล้านรายการ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จ
       สำนักข่าวยอนฮัปรายงานว่า นายฮา แท-คึง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านหลักของเกาหลีใต้ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวหลังเสร็จสิ้นการประชุมดังกล่าว  อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ตกเป็นข่าว NIS ปฏิเสธว่าทางหน่วยงานไม่ได้ระบุชื่อบริษัทยาแต่อย่างใด พร้อมทั้งต่อว่านายฮาที่ออกมาให้ข่าวดังกล่าว
 

WHO: อนามัยโลกเตือน 6 ชาติแอฟริกาเฝ้าระวังไวรัสอีโบลาระบาด

     องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เตือนให้ประเทศในทวีปแอฟริกา 6 ประเทศคอยเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola) หลังจากมีการตรวจพบการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ในสองประเทศของทวีปแอฟริกาอย่าง "กินี" และ "สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก" เมื่อสัปดาห์ก่อน  6 ประเทศที่ถูกแจ้งเตือนนั้นเป็นประเทศที่อยู่ใกล้กับกินี ได้แก่ เซเนกัล กินี-บิสเซา มาลี โกตดิวัวร์ เซียร์ราลีโอน และไลบีเรีย
      ขณะนี้มีรายงานผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก 4 ราย และในกินี 3 ราย โดย WHO กำลังทำงานอย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของทั้งสองประเทศ  ทั้งนี้ กินีเป็น 1 ใน 3 ประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตกระหว่างปี 2557-2559 ซึ่งเป็นการแพร่ระบาดครั้งใหญ่สุดนับตั้งแต่เชื้อไวรัสนี้ถูกตรวจพบครั้งแรกเมื่อปี 2519  การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตกระหว่างปี 2557-2559 ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 11,300 ราย และมีผู้ป่วยสะสมมากกว่า 28,600 ราย
 

FED: เฟดนิวยอร์กเผยดัชนีภาคการผลิตพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน

      ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก รายงานในวันนี้ว่า ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Index) ปรับตัวขึ้น 8.6 จุด แตะระดับ 12.1 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.ปีที่แล้ว ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 5.9  ดัชนีที่อยู่เหนือระดับ 0 บ่งชี้ถึงการขยายตัวของภาคการผลิตในนิวยอร์ก โดยดัชนีมีค่าเป็นบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 โดยได้แรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อใหม่ ขณะที่ภาคธุรกิจยังคงมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น   รายงานระบุว่า คำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้น 4.2 จุด แตะระดับ 10.8 ในเดือนก.พ. อย่างไรก็ตาม การจัดส่งสินค้าลดลง 3.3 จุด มาอยู่ที่ 4 จุด   ขณะที่การคาดการณ์ของผู้ผลิตต่อสภาวะธุรกิจในช่วงหกเดือนข้างหน้า ปรับตัวขึ้น 3 จุด แตะระดับ 34.9  
      ทั้งนี้ ตลาดจับตาดัชนีภาคการผลิตจากเฟดนิวยอร์ก เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดนำ (leading indicator) สำหรับดัชนีภาคการผลิตทั่วประเทศของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) โดยในเดือนม.ค. ดัชนีภาคการผลิตของ ISM ร่วงจากระดับสูงสุดในรอบกว่าสองปี ลงมาอยู่ที่ 58.7 อย่างไรก็ดี นับเป็นเดือนที่แปดติดต่อกันที่ดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นเส้นแบ่งระหว่างภาวะขยายตัวกับภาวะหดตัว
 

ดัชนีชี้วัด
วันที่ ประเทศ เวลา รายการ มีผลต่อทอง ประมาณการณ์ ตัวเลขครั้งก่อน
15 ก.พ 64 EUR 17.00 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ยูโรโซน -1.0% 2.5%
16 ก.พ 64 EUR 17.00 ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจสถาบัน ZEW เยอรมัน 60.0 61.8
EUR 17.00 คาดาการณ์ GDP ไตรมาสสี่ -0.7 % -0.7 %
USA 20.30 ดัชนีการผลิตสาขานิวยอร์ก 5.7 3.5
17 ก.พ 64 EUR 14.00 ดัชนีราคาผู้ผลิต 0.4 % 0.3 %
USA 20.30 ยอดค้าปลีก 1.0 % -0.7 %
USA 21.15 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม 0.2% 0.1%
USA 21.15 อัตราการใช้กำลังการผลิต 74.8 % 74.5 %
USA 22.00 สินค้าคงคลังภาคธุรกิจ 0.5 % 0.5 %
USA 22.00 ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัย 83.0 83.0
18 ก.พ 64 USA 02.00 รายงานการประชุม FOMC -- -
EUR 17.00 ดัชนีราคาผู้บริโภค 0.2 % 0.3 %
EUR 17.00 รายงานการประชุม ECB - -
USA 20.30 จำนวนบ้านใหม่ที่กำลังก่อสร้าง 1.650 M 1.669 M
USA 20.30 ใบอนุญาติก่อสร้างที่อยู่อาศัย 1.670 M 1.709 M
USA 20.30 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน 757 K 793 K
USA 20.30 ดัชนีภาคการผลิตเฟด สาขาฟิลาเดเฟีย 20.0 26.35
19 ก.พ 64 EUR 14.00 ดัชนีราคาผู้ผลิต - 0.08%
EUR 15.30 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต เยอรมันนี 56.5 57.0
EUR 15.30 ดัชนีภาคการบริการ เยอรมันนี 46.5 46.8
EUR 16.00 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต ยูโรโซน 54.4 54.7
EUR 16.00 ดัชนีภาคการบริการ ยูโรโซน 46.0 45.0
USA 21.45 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต 59.0 59.1
USA 21.45 ดัชนีภาคการบริการ 57.7 57.5
USA 22.00 ยอดขายบ้านมือสอง 6.600 M 6.760 M
  • gcap gold facebook
  • gcap gold youtube
  • gcap gold line
  • gcap gold line