สนใจเทรดออนไลน์

สมัครเทรดออนไลน์

Morning Report 23 กุมภาพันธ์ 2564
แนะแนวทางการลงทุน

     ทองคำปิดตลาดปรับตัวขึ้น ได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย  นักลงทุนแห่ซื้อทองคำเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้  แนะรอขายแนวต้าน

 Date 23 Febuary 2021
 Commodity Gold
 Buy/Sell รอขาย
 Entry จุดขาย1,820
 Target 1,799
Stoploss 1,830
Level  แนวรับ
(Support)
 แนวต้าน
(Resistance)
 L1 1,799 1,820
 L2 1,795 1,824
 L3 1,790 1,827
สรุปแนวโน้มช่วงเช้า

     เงินปอนด์แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (22 ก.พ.) ขานรับความหวังที่ว่า นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ จะประกาศผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น
      มุมมองทองคำภาคเช้า   ทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (22 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนแห่ซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ, อัตราเงินเฟ้อ และทิศทางอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ
       นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่  ดัชนีราคาบ้านในเขต 20 เมืองใหญ่  ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย  ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค  ดัชนีภาคการผลิตสาขาริชมอนด์  ยอดขายบ้านใหม่  คำสั่งซื้อสินค้าคงทน  ประมาณการ GDP ไตรมาสสี่  จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน  ยอดขายบ้านที่รอปิดการขาย  ดุลการค้า  รายได้ส่วนบุคคล  รายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล  ดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคล  สินค้าคงคลังภาคค้าส่ง  ดัชนีจัดซื้อจัดจ้าง เฟด ชิคาโก  ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ม.มิชิแกน เป็นต้น
 

Market Price
สภาวะแลกเปลี่ยนเงินตรา

     เงินปอนด์แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (22 ก.พ.) ขานรับความหวังที่ว่า นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ จะประกาศผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น 

สรุปข่าวเศรษฐกิจ
FED: เฟดชิคาโกเผยดัชนีกิจกรรมทางเศรษฐกิจสูงกว่าคาดในเดือนม.ค.

     ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาชิคาโก เปิดเผยว่า ดัชนี Chicago Fed National Activity Index (CFNAI) ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 0.66 ในเดือนม.ค. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.15 จากระดับ 0.41 ในเดือนธ.ค.  การดีดตัวของดัชนีได้รับแรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของยอดขายบ้านและการบริโภค   ดัชนี CFNAI เป็นดัชนีถ่วงน้ำหนักตัวชี้วัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐจำนวน 85 รายการ โดยดัชนี CFNAI ที่มีค่าเป็นบวกจะบ่งชี้ถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจที่สูงกว่าแนวโน้ม ขณะที่ดัชนี CFNAI ที่มีค่าเป็นลบจะบ่งชี้ถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าแนวโน้ม  
     ทั้งนี้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐจำนวน 53 รายการปรับตัวขึ้นในเดือนม.ค. ขณะที่ 32 รายการมีค่าเป็นลบ  นักวิเคราะห์ระบุว่า ดัชนี CFNAI ถือเป็นตัวชี้วัดที่ดีที่สุดในการประเมินความเสี่ยงในการเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐ
 

สหรัฐฯ: จับตา "พาวเวล" แถลงนโยบายการเงินรอบครึ่งปีต่อสภาคองเกรสสัปดาห์นี้

     นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีกำหนดกล่าวแถลงการณ์รอบครึ่งปีว่าด้วยนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐต่อสภาคองเกรสในสัปดาห์นี้  ทั้งนี้ นายพาวเวลจะกล่าวถ้อยแถลงต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาในวันพรุ่งนี้ และต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรในวันพุธ
      ที่ผ่านมา ตามธรรมเนียมปฏิบัติ ประธานเฟดมีกำหนดกล่าวแถลงการณ์ต่อสภาคองเกรสปีละ 2 ครั้ง โดยครั้งแรกในเดือนก.พ. และอีกครั้ง ในเดือนมิ.ย.หรือก.ค. นักลงทุนจับตาถ้อยแถลงของนายพาวเวล เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจ, อัตราเงินเฟ้อ, ทิศทางอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ รวมทั้งผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่มีต่อเศรษฐกิจสหรัฐ  การแถลงของนายพาวเวลในสัปดาห์นี้ถือเป็นครั้งแรกที่เขาจะกล่าวถ้อยแถลงต่อสภาคองเกรสชุดใหม่ที่พรรคเดโมแครตครองเสียงข้างมากทั้งในวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ขณะที่รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ก็เป็นรัฐบาลที่มาจากพรรคเดโมแครตเช่นกัน  
      นอกจากนี้ ถ้อยแถลงของนายพาวเวลครั้งนี้ถือว่ามีความสำคัญ เนื่องจากนักลงทุนกำลังกังวลว่า การดีดตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และตัวเลขเงินเฟ้อที่ส่งสัญญาณพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจผลักดันให้เฟดยุติการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน หลังจากที่มีการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยใกล้ 0% ต่อไปอีกราว 2 ปี  ก่อนหน้านี้ เฟดเคยส่งสัญญาณชะลอการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลดวงเงินซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในปี 2556 ซึ่งส่งผลให้เฟดลดการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่เศรษฐกิจ ทำให้ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทและตลาดหุ้นทั่วโลกทรุดตัวลงอย่างหนักในปีดังกล่าว
 

ดัชนีชี้วัด
วันที่ ประเทศ เวลา รายการ มีผลต่อทอง ประมาณการณ์ ตัวเลขครั้งก่อน
22 ก.พ 64 EUR 16.00 ดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจ เยอรมันนี Ifo 90.4 90.1
USA 20.30 ดัชนีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเฟด ชิคาโก 0.40 0.52
USA 22.00 ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ 0.3 % 0.3 %
USA 22.30 ดัชนีภาคการผลิตเฟด ดัลลาส 6.7 7.0
23 ก.พ 64 EUR 17.00 ดัชนีราคาผู้บริโภค ยูโรโซน 0.2% 0.3%
USA 21.00 ดัชนีราคาบ้านในเขต 20 เมืองใหญ่ 0.9% 1.4%
USA 21.00 ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย 0.8% 1.0%
USA 22.00 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค 89.7 89.3
USA 22.00 ดัชนีภาคการผลิตสาขาริชมอนด์ 14 14
24 ก.พ 64 EUR 14.00 GDP ไตรมาสสี่ 0.1 % 8.5 %
USA 22.00 ยอดขายบ้านใหม่ 855K 842K
25 ก.พ 64 EUR 14.00 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเยอรมนี -14.0 -15.6
EUR 17.00 ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ 92.3 91.5
EUR 17.00 ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค -14.8 -15.5
USA 20.30 คำสั่งซื้อสินค้าคงทน 1.1% 0.2%
USA 20.30 ประมาณการ GDP ไตรมาสสี่ 4.1% 4.0
USA 20.30 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน 815 K 861 K
USA 22.00 ยอดขายบ้านที่รอปิดการขาย 0.0% -0.3%
26 ก.พ 64 USA 20.30 ดุลการค้า -83.0B -82.5 B
USA 20.30 รายได้ส่วนบุคคล 9.4% 0.6%
USA 20.30 รายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล 2.2% -0.2%
USA 20.30 ดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคล 0.3% 0.4%
USA 20.30 ดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคล พื้นฐาน 0.1% 0.3%
USA 20.30 สินค้าคงคลังภาคค้าส่ง 0.3% 0.1%
USA 21.45 ดัชนีจัดซื้อจัดจ้าง เฟด ชิคาโก 61.0 63.8
USA 22.00 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ม.มิชิแกน 76.4 76.2
  • gcap gold facebook
  • gcap gold youtube
  • gcap gold line
  • gcap gold line