สนใจเทรดออนไลน์

สมัครเทรดออนไลน์

10 ข้อคิดการวางแผนการเงินจาก วิกฤต COVID

1) เงินสำรองฉุกเฉินสำคัญในยามวิกฤติ

การเกิดวิกฤต COVID  บริษัทต้องการลดคน และ คุณอาจเป็นคนที่โชคดี โดนไล่ออกกะทันหัน คุณสามารถอยู่ได้อย่างน้อยกี่เดือนด้วยเงินสดที่คุณมีอยู่ ถ้าคุณไม่มีรายได้แล้วควรจะมีเงินสดอย่างน้อย 6 เดือนในการรับมือวิกฤติในครั้งนี้

 

2) บริหารหนี้สินในเหมาะสม

วิกฤต COVID  อาจจะทำให้รายได้ลด ดังนั้น % ผ่อนชำระต้องไม่เกิน 30-40% ของรายได้ต่อเดือน ยิ่งน้อยยิ่งดี

 

3) ประกันเปรียบดั่งสินทรัพย์ทองคำซึ่งจะช่วยยามเกิดวิกฤติ

ถ้าตัวเอง ติดเชื้อ COVID จะต้องรักษาตัว ในยามวิกฤติ แต่ถ้ามีประกันสุขภาพ  ก็จะจ่ายเงินค่าใช้จ่ายแทน เปรียบกับ สินทรัพย์ทองคำ ซึ่งจะช่วยยามเกิดวิกฤติ ใช้เงินส่วนน้อยเพื่อปกป้องเงินส่วนมาก เหมือนกับอนุพันธ์แบบ put option

 

4) จัดพอร์ตการลงทุน คือหัวใจสำคัญที่สุด

การจัดพอร์ตการลงทุนคือหัวใจที่สำคัญ จัดพอร์ตตามเป้าหมายหรือระยะเวลาให้ดี 

 

5) ใช้หลัก Wealth Preservation คู่กับ Wealth Growth เสมอ

แน่นอนทุกคนอยากให้ความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น  แต่ส่วนใหญ่จะลืมการปกป้องความมั่งคั่ง การจัดพอร์ตและกระจายความเสี่ยงในการลงทุนก็เป็นหนึ่งในการปกป้องความมั่งคั่งได้ ไม่ให้พอร์ตลดลงไปมาก  หรือ อาจจะลงทุนในอนุพันธ์แบบ put option ในการช่วย hedge พอร์ต  หรือแม้กระทั่งการตัดขาดทุน (Stop Loss)

 

6) วางแผนแบบ hybrid retirement เตรียมรับมือวิกฤติหลังเกษียณ

คนส่วนใหญ่วางแผนเกษียณ ก็จะคิดเรื่องการลงทุนเพื่อการเกษียณเป็นหลัก  ลืมคิดวางแผนรับมือวิกฤติหลังเกษียณ ดังนั้นควรจะวางแผนเกษียณแบบ hybrid retirement  คือ จะต้องมีการลงทุนเพื่อได้เงินก้อน และ จะต้องจัดเตรียมกระแสเงินสดหลังเกษียณไว้ในกรณีฉุกเฉิน

กระแสเงินสด อาจจะมาจากค่าเช่า หรือ บำนาญ  ดังนั้นการทำบำนาญ ไม่ใช่เพื่อการลงทุน แต่เพื่อเป็น long life income และ investment protection ในยามเกิดเหตุการณ์แบบนี้

 

7) Buy and hold investment strategy อาจจะทำจริงไม่ได้

การปรับพอร์ตที่เป็นเชิง Tactical เพื่อรองรับการเปลี่ยนและแนวโน้มของการลงทุนที่จะเกิดขึ้น  เช่นควรจะลด % ตราสารหุ้น ไปเพิ่มตราสารหนี้ และทองคำเป็นต้น การลงทุนแบบ buy and holding อาจจะทำได้จริงอยาก เนื่องจากมีการขาดทุน เป็นระยะเวลานาน  อาจจะทนต่อเหตุการณ์นี้ไม่ได้

 

8) Home Bias อาจทำให้เสียโอกาส

การจัดพอร์ตกระจายความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญ แต่คนไทยหลายคนยังกลัวการกระจายความเสี่ยงไปต่างประเทศมุ่งเน้นลงทุนภายในประเทศ “ความติดบ้าน” (Home Bias) ทำให้ขาดการหลากหลาย และสูญเสียโอกาสในการลงทุน 

 

9) Regret Aversion Bias ทำให้พลาดโอกาสในการลงทุนต่อ

เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ คนที่ขาดทุนก็จะรู้สึกทุกข์ใจเสียใจ แล้วจะรู้สึกกลัวการลงทุน และไม่กล้าที่จะลงทุน เราเรียกกว่า การหลีกเลี่ยงความเสียใจ (Regret Aversion)  ถ้าเรามีความอคติแบบนี้อยู่ เราก็จะไม่กลับมาลงทุนอีกต่อไป

 

10) มีน้ำอยู่กลางทะเลทรายเสมอ

ทุกอย่างเป็น cycle อย่า panic มาก มีโอกาสในวิกฤตเสมอ มองดูด้วยการคิด อย่าใช้อารมณ์

 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.finnomena.com/wealthguru/10-financial-lessons-covid19/

 


เรื่องน่ารู้
ตรุษจีนทองคำพุ่งขึ้นทุกปีไหม?
เทศกาลตรุษจีน ราคาทองคำขึ้นทุกครั้งจริงหรือไม่? GCAP GOLD มีคำตอบมาฝากค่ะ
อัพเดท: 9 ก.พ. 2567
รายงานยอดขายปลีก (Retail Sales)
ดัชนียอดค้าปลีก (Retail Sales) คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรในตลาดและส่งผลต่อราคาทองคำในมุมใดบ้างไปอ่านพร้อมกันเลยค่ะ
อัพเดท: 17 ม.ค. 2567
การลงทุน VS การออม ต่างกันอย่างไร?
หลายๆ คนมีคำถามคาใจ ว่าการออมเงินกับการลงทุนต่างกันอย่างไร วันนี้เรามีข้อมูลสำคัญของการลงทุนและการออมมาฝากกัน
อัพเดท: 14 ธ.ค. 2566
ย้อนรอย การล่มสลายเลห์แมน บราเธอร์ส
ย้อนรอย วิกฤต Lehman Brothers เลห์แมน บราเธอร์ส ในเดือน ก.ย.ปี 2008 ได้สร้างความปั่นป่วนให้กับระบบการเงินโลก จนนำไปสู่การเกิดวิกฤติครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก อย่างไรนั้น อ่านเพิ่มเติมกันค่ะ
อัพเดท: 21 ก.ย. 2566
  • gcap gold facebook
  • gcap gold youtube
  • gcap gold line
  • gcap gold line