ก่อนเข้าเรื่อง เราคงต้องเท้าความไปถึงมาตรฐานทางการเงินช่วงก่อนหน้านี้ ที่โลกเราใช้ระบบมาตรฐานทองคำ (Gold Standard) เป็นระบบมาตรฐานการเงินระหว่างประเทศระบบแรกที่ประเทศต่างๆ นำมาใช้ในการทำการค้าระหว่างกันอย่างกว้างขวาง ระบบนี้พัฒนาการมาจากการใช้เหรียญทองคำที่ทำหน้าที่แทนเงินเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แต่ด้วยข้อจำกัดของทองคำที่มีจำกัดและเคลื่อนย้ายลำบาก ทางสหราชอาณาจักรเป็นประเทศแรกที่ได้เริ่มต้นผูกค่าเงินสกุลปอนด์สเตอร์ลิงไว้กับทองคำ ทำให้เงินปอนด์สเตอร์ลิงของสหราชอาณาจักรในขณะนั้นจึงได้รับความเชื่อถือเป็นอย่างมาก ประเทศอื่นๆอย่างสหรัฐฯเยอรมนี ญี่ปุ่น จึงได้นำระบบมาตรฐานทองคำมาใช้ในระบบการเงินระหว่างประเทศตาม ๆ กันมา
แม้ว่า (Gold Standard) จะได้รับความนิยมอย่างมาก แต่มันก็มีข้อจำกัดอยู่หลายอย่างโดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นจากการค้าระหว่างประเทศ จากอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน แต่ละประเทศกำหนดค่าเงินของตัวเองเพื่อประโยชน์ทางการค้า ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศขึ้นและเป็นจุดเปลี่ยน ในช่วงที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นในปี ค.ศ.1914 ประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมสงครามได้ประกาศยกเลิกการแลกเปลี่ยนเงินตราของตนกับทองคำ รวมถึงห้ามส่งออกทองคำเพื่อรักษาทุนสำรองของประเทศ หลังจากนั้นประเทศอื่นๆ ก็ได้ทยอยยกเลิกระบบมาตรฐานทองคำเช่นกัน จึงทำให้ระบบมาตรฐานทองคำล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1932 หลังจากสงครามโลกจบลง ประเทศมหาอำนาจได้หารือกับระบบทางการเงินแบบใหม่เพื่อแก้ไขปัญหา จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อให้เกิด Bretten Woods system
เริ่มต้น Bretten Woods system คือความร่วมมือระหว่างประเทศในขณะนั้นทั้งหมด 44 ชาติได้หารือกันเพื่อแสวงหาแนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจและจัดระบบทางการเงินโลกภายหลังสงคราม โดยมีแนวทางดังนี้
ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่คงที่ แต่ไม่ใช่ระบบมาตรฐานทองคำดังในอดีต ให้แต่ละประเทศยินยอมที่จะผูกติดอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินของตนกับสกุลเงินดอลล่าห์สหรัฐโดยกำหนด 1 ออนซ์ของทองคำจะมีมูลค่าเท่ากับ $35 โดยในขณะนั้นสหรัฐฯ ครอบครองทองมากถึง 2 ใน 3 ของทั้งโลก มีองค์กรกำกับหรือบริหารนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ และเป็นที่มาขององค์การระหว่างประเทศด้านการเงินอันประกอบไปด้วย
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund หรือ IMF)
- ธนาคารโลก (World Bank)
- องค์การการค้าระหว่างประเทศ หรือ WTO ในปัจจุบัน
จุดจบ Bretton Woods system
ระบบการเงินแบบ Bretton Woods ได้ดำเนินมาเรื่อยๆ จนถึงจุดจบในปี 1971 ที่สหรัฐยกเลิกการผูกสกุลเงินดอลล่าห์สหรัฐกับทองคำ สาเหตุจากการที่สหรัฐไม่สามารถการันตีจำนวนทองคำที่มีระบบกับจำนวนเงินดอลล่าห์สหรัฐได้ ส่งผลให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐกลายเป็น Fiat Currency แบบลอยตัว ตามด้วยสกุลเงินอื่นๆ อย่างเช่น สกุลเงินปอนด์ เช่นกัน
การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้สหรัฐสามารถพิมพ์เงินออกมาได้ไม่จำกัด เนื่องจากไม่ต้องมีทองคำคอยหนุนหลังอีกต่อไป ส่งผลให้เกิดสถานการณ์เงินเฟ้อขึ้นอย่างหนักในช่วง 1970s สินทรัพย์ที่ใช้ป้องกันเงินเฟ้ออย่างทองคำจึงมีราคาสูงขึ้นมากในขณะนั้น จาก $35 ที่เคยถูกกำหนดไว้ในปี 1944 สู่จุดพีคที่ $670 ในปี 1980 เป็นต้นมา
ขอบคุณข้อมูลจาก bottomliner และ stou
เรื่องทองต้องรู้