สนใจเทรดออนไลน์

สมัครเทรดออนไลน์

Morning Report 02 มีนาคม 2564
แนะแนวทางการลงทุน

      ทองคำร่วงลง  ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการดีดตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ  นอกจากนี้การประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯได้หนุนให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น  ได้กดดันราคาทองคำราคาทองคำ อย่างไรก็ดีราคาได้ปรับตัวลงมากแล้ว  นักลงทุนอาจทะยอยเข้าซื้อเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น ๆ ได้
 

 Date 02 March 2021
 Commodity Gold
 Buy/Sell รอซื้อ
 Entry จุดซื้อ1,706
 Target 1,748
Stoploss 1,750
Level  แนวรับ
(Support)
 แนวต้าน
(Resistance)
 L1 1,706 1,748
 L2 1,700 1,753
 L3 1,695 1,759
สรุปแนวโน้มช่วงเช้า

     ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (1 มี.ค.) ขานรับความข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใส รวมทั้งความคืบหน้าในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐ  ดอลลลาร์ได้รับปัจจัยหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐ โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยเมื่อคืนนี้ว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างพุ่งขึ้น 1.7% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายเดือน  ในขณะที่สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผย ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐพุ่งสู่ระดับ 60.8 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.2561 
     นอกจากนี้ การที่สหรัฐอนุมัติการใช้วัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ของบริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน และความคืบหน้าในการออกมาตรการเศรษฐกิจ ยังช่วยให้นักลงทุนมีความหวังว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะกลับมาขยายตัวอย่างแข็งแกร่งอีกครั้ง  
     มุมมองทองคำภาคเช้า   นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยหลังจากตลาดหุ้นสหรัฐทะยานขึ้นเมื่อคืนนี้ โดยได้ปัจจัยหนุนจากข่าวสหรัฐอนุมัติการใช้วัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ของบริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน รวมทั้งการอ่อนตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ และสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐให้ความเห็นชอบต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา  ขณะเดียวกันข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐยังเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนเทขายสินทรัพย์ปลอดภัย    นอกจากนี้ การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ยังเป็นปัจจัยกดดันราคาทองคำด้วย 

Market Price
สภาวะแลกเปลี่ยนเงินตรา

     ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (1 มี.ค.) ขานรับความข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใส รวมทั้งความคืบหน้าในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐ  ดอลลลาร์ได้รับปัจจัยหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐ โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยเมื่อคืนนี้ว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างพุ่งขึ้น 1.7% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายเดือน  ในขณะที่สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผย ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐพุ่งสู่ระดับ 60.8 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.2561 
     นอกจากนี้ การที่สหรัฐอนุมัติการใช้วัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ของบริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน และความคืบหน้าในการออกมาตรการเศรษฐกิจ ยังช่วยให้นักลงทุนมีความหวังว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะกลับมาขยายตัวอย่างแข็งแกร่งอีกครั้ง  
 

สรุปข่าวเศรษฐกิจ
สหรัฐฯ: สหรัฐเผยการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างสูงเป็นประวัติการณ์ในเดือนม.ค.

      กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างพุ่งขึ้น 1.7% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 1.521 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ที่เริ่มมีการเก็บรวบรวมข้อมูลในปี 2545 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.8% หลังจากเพิ่มขึ้น 1.1% ในเดือนธ.ค.  เมื่อเทียบรายปี การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้น 5.8% ในเดือนม.ค.
      การใช้จ่ายในโครงการก่อสร้างของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 1.7% ในเดือนม.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 1.5% ในเดือนธ.ค. การใช้จ่ายในโครงการที่อยู่อาศัยของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 2.5% ในเดือนม.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 3.8% ในเดือนธ.ค. ส่วนการใช้จ่ายในโครงการที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 0.4%   ส่วนการใช้จ่ายในโครงการภาคสาธารณะเพิ่มขึ้น 1.7% ในเดือนม.ค. ขณะที่การใช้จ่ายในโครงการของรัฐบาลกลางเพิ่มขึ้น 6.8% ส่วนการใช้จ่ายในโครงการของรัฐบาลในมลรัฐและรัฐบาลท้องถิ่นเพิ่มขึ้น 1.3%    
 

สหรัฐฯ: ดัชนี PMI ภาคการผลิตสหรัฐยังคงขยายตัวในเดือนก.พ.

      ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 58.6 ในเดือนก.พ. จากระดับ 59.2 ในเดือนม.ค.  
      อย่างไรก็ดี ดัชนี PMI ยังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะขยายตัวของภาคการผลิตของสหรัฐ  แม้ดัชนี PMI ปรับตัวลงในเดือนก.พ. แต่ยังคงแตะระดับสูงสุดเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่เดือนเม.ย.2553 โดยได้แรงหนุนจากการดีดตัวขึ้นของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน ขณะที่ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน จากคาดการณ์ที่ว่าการฉีดวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ในวงกว้างจะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น
 

สหรัฐฯ: ISM เผยดัชนีภาคการผลิตสหรัฐพุ่งสูงสุดรอบ 3 ปีในเดือนก.พ.

     สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐพุ่งสู่ระดับ 60.8 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.2561 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 58.9 จากระดับ 58.7 ในเดือนม.ค.  ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะขยายตัว   ดัชนีภาคการผลิตในเดือนก.พ.ได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อใหม่ ขณะที่การจ้างงานพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.2562  

สหรัฐฯ: ดัชนี PMI ภาคการผลิตยูโรโซนขยายตัวติดต่อกัน 8 เดือนในก.พ.

     ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของยูโรโซน ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 57.9 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี จากระดับ 54.8 ในเดือนม.ค.  ดัชนี PMI ยังคงปรับตัวสูงกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่า ภาคการผลิตของยูโรโซนยังคงมีการขยายตัว โดยได้ขยายตัวติดต่อกัน 8 เดือน
      ดัชนี PMI ได้รับแรงหนุนจากการดีดตัวของคำสั่งซื้อใหม่ ส่วนการจ้างงานเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี ขณะที่ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากการคาดการณ์ที่ว่าความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในวงกว้างจะช่วยควบคุมการแพร่ระบาด และหนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น   นอกจากนี้ ดัชนี PMI ภาคการผลิตของยูโรโซน ยังได้ปัจจัยบวกจากภาคการผลิตที่แข็งแกร่งของเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี
 

ดัชนีชี้วัด
วันที่ ประเทศ เวลา รายการ มีผลต่อทอง ประมาณการณ์ ตัวเลขครั้งก่อน
01 มี.ค 64 EUR 15.55 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต เยอรมันนี 60.6 60.6
EUR 16.00 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต ยูโรโซน 57.7 54.8
EUR 20.00 ดัชนีราคาผู้บริโภค เยอรมันนี 0.5 % 0.8 %
USA 21.45 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต - 58.5
USA 22.00 ดัชนีภาคการผลิต สถาบัน ISM 58.8 58.7
02 มี.ค 64 EUR 14.00 ยอดค้าปลีก เยอรมันนี -1.0% -9.6%
EUR 15.55 อัตราการว่างงาน 6.0% 6.0%
EUR 17.00 ดัชนีราคาผู้บริโภค 1.0% 0.9%
03 มี.ค 64 EUR 15.55 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ เยอรมันนี 45.9 46.7
EUR 16.00 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ 44.7 45.4
EUR 17.00 ดัชนีราคาผู้ผลิต 1.0% 0.8%
USA 20.15 การจ้างงานนอกภาคการเกษตร ADP 165 K 174 K
USA 21.45 58.9 58.3
USA 22.00 ดัชนีภาคการบริการ 58.7 58.7
USA 22.00 ดัชนีภาคการบริการ 58.7 58.7
04 มี.ค 64 EUR 17.00 ยอดค้าปลีก ยูโรโซน -1.1% 2.0%
EUR 17.00 อัตราการว่างงาน 8.3% 8.3%
USA 20.30 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน 790 K 730 K
USA 20.30 ผลผลิตนอกภาคการเกษตร -4.7 % -4.8 %
USA 20.30 ต้นทุนค่าจ้างแรงงานต่อหน่วย 6.7 % 6.8 %
USA 22.00 คำสั่งซื้อสินค้าโรงงาน 1.4% 1.1%
05 มี.ค 64 EUR 14.00 คำสั่งซื้อโรงงาน 0.8% -1.9%
USA 20.30 การจ้างงานนอกภาคการเกษตร 140 K 49 K
USA 20.30 อัตราการว่างงาน 6.3% 6.3%
USA 20.30 รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงการทำงาน 0.2% 0.2%
USA 20.30 ดุลการค้า -67.5 B -66.6 B
  • gcap gold facebook
  • gcap gold youtube
  • gcap gold line
  • gcap gold line