สนใจเทรดออนไลน์

สมัครเทรดออนไลน์

Morning Report 03 มีนาคม 2564
แนะแนวทางการลงทุน

        ทองคำดีดตัวขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากนักลงทุนเข้าช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากสัญญาทองคำร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือนเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา แต่แรงซื้อยังมีไม่มาก  เนื่องจากนักลงทุนรอการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจในค่ำคืนนี้   โดย
เฉพาะการจ้างงานนอกภาคเกาตร ADP  คาดการณ์ว่าเป็นลบต่อราคาทองคำ
 

 Date 03 March 2021
 Commodity Gold
 Buy/Sell รอขาย
 Entry จุดขาย 1,754
 Target 1,719
Stoploss 1,772
Level  แนวรับ
(Support)
 แนวต้าน
(Resistance)
 L1 1,719 1,754
 L2 1,714 1,764
 L3 1,708 1,770
สรุปแนวโน้มช่วงเช้า

     ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตราเมื่อคืนนี้ (2 มี.ค.) หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวลง ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 16-17 มี.ค.นี้ เพื่อจับสัญญาณทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด ดอลลาร์อ่อนค่าลงหลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ร่วงลงสู่ระดับ 1.422% เมื่อคืนนี้ โดยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีถือเป็นพันธบัตรที่ใช้อ้างอิงในการกำหนดราคาของตราสารหนี้ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง  
     สำหรับปัจจัยที่ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ มาจาการที่นักลงทุนพากันเข้าซื้อพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย หลังจากที่นายเกา ชู่ฉิง ประธานคณะกรรมการฝ่ายกำกับดูแลด้านการธนาคารและการประกันของจีน (CBIRC) ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากภาวะฟองสบู่ในตลาดการเงินทั่วโลก 
    มุมมองทองคำภาคเช้า   ทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (2 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากสัญญาทองคำร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือนครึ่งเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้แรงหนุนจากการอ่อนตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ
     นอกจากนี้นักลงทุนยังต้องคอยติดตามตัวเลขเศรษฐกิจที่จะประกาศในรอบสัปดาห์นี้ด้วย  การจ้างงานนอกภาคการเกษตร ADP  ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ  ดัชนีภาคการบริการ  จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน  ผลผลิตนอกภาคการเกษตร  ต้นทุนค่าจ้างแรงงานต่อหน่วย  คำสั่งซื้อสินค้าโรงงาน   การจ้างงานนอกภาคการเกษตร  อัตราการว่างงาน  รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงการทำงาน  ดุลการค้า  เป็นต้น  

Market Price
สภาวะแลกเปลี่ยนเงินตรา

     ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตราเมื่อคืนนี้ (2 มี.ค.) หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวลง ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 16-17 มี.ค.นี้ เพื่อจับสัญญาณทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด ดอลลาร์อ่อนค่าลงหลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ร่วงลงสู่ระดับ 1.422% เมื่อคืนนี้ โดยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีถือเป็นพันธบัตรที่ใช้อ้างอิงในการกำหนดราคาของตราสารหนี้ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง  
      สำหรับปัจจัยที่ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ มาจาการที่นักลงทุนพากันเข้าซื้อพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย หลังจากที่นายเกา ชู่ฉิง ประธานคณะกรรมการฝ่ายกำกับดูแลด้านการธนาคารและการประกันของจีน (CBIRC) ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากภาวะฟองสบู่ในตลาดการเงินทั่วโลก 
 

สรุปข่าวเศรษฐกิจ
สหรัฐฯ: "ไบเดน" เตรียมประกาศให้ "เมอร์ค" จับมือ "จอห์นสัน" ผลิตวัคซีนโควิด

      เจ้าหน้าที่อาวุโสรายหนึ่งของรัฐบาลสหรัฐกล่าวว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดนจะทำการประกาศในวันนี้ให้บริษัทเมอร์ค ซึ่งเป็นผู้ผลิตยารายใหญ่ เข้าดำเนินการช่วยเหลือบริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (J&J) ในการผลิตวัคซีนโควิด-19  การประกาศดังกล่าวมีขึ้น ท่ามกลางความพยายามของรัฐบาลสหรัฐในการเพิ่มกำลังการผลิตวัคซีนโควิด-19 ของบริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน
      รัฐบาลเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่าจะมีการจัดส่งวัคซีนของจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันจำนวน 3.9 ล้านโดสภายในสัปดาห์นี้ แต่ก็มีความกังวลว่าการผลิตวัคซีนจะต่ำกว่าเป้าในช่วงหลายสัปดาห์ข้างหน้า ขณะที่รัฐบาลต้องการกระจายวัคซีนอีกกว่า 16 ล้านโดสภายในสิ้นเดือนนี้  ภายใต้ข้อตกลงที่จะมีขึ้น เมอร์คจะใช้โรงงาน 2 แห่งในสหรัฐสำหรับการผลิตวัคซีนของจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน 
     ทั้งนี้ รัฐบาลสหรัฐเร่งหาโรงงานเพื่อเพิ่มการผลิตวัคซีนของจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน หลังพบว่าทางบริษัททำการผลิตวัคซีนได้ล่าช้ากว่ากำหนด และในที่สุดรัฐบาลได้บรรลุข้อตกลงกับเมอร์คในการช่วยผลิตวัคซีนโควิด-19 ของจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ขณะที่เมอร์คได้ล้มเลิกโครงการพัฒนาวัคซีนของตนเอง เนื่องจากผลการทดลองทางคลินิกพบว่าวัคซีนของบริษัทไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสโควิด-19   
 

สหรัฐฯ: ดัชนี PMI ภาคการผลิตสหรัฐยังคงขยายตัวในเดือนก.พ.

      ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 58.6 ในเดือนก.พ. จากระดับ 59.2 ในเดือนม.ค.  
      อย่างไรก็ดี ดัชนี PMI ยังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะขยายตัวของภาคการผลิตของสหรัฐ  แม้ดัชนี PMI ปรับตัวลงในเดือนก.พ. แต่ยังคงแตะระดับสูงสุดเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่เดือนเม.ย.2553 โดยได้แรงหนุนจากการดีดตัวขึ้นของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน ขณะที่ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน จากคาดการณ์ที่ว่าการฉีดวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ในวงกว้างจะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น
 

สหรัฐฯ: ISM เผยดัชนีภาคการผลิตสหรัฐพุ่งสูงสุดรอบ 3 ปีในเดือนก.พ.

     สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐพุ่งสู่ระดับ 60.8 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.2561 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 58.9 จากระดับ 58.7 ในเดือนม.ค.  ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะขยายตัว   ดัชนีภาคการผลิตในเดือนก.พ.ได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อใหม่ ขณะที่การจ้างงานพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.2562  

สหรัฐฯ: ดัชนี PMI ภาคการผลิตยูโรโซนขยายตัวติดต่อกัน 8 เดือนในก.พ.

     ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของยูโรโซน ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 57.9 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี จากระดับ 54.8 ในเดือนม.ค.  ดัชนี PMI ยังคงปรับตัวสูงกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่า ภาคการผลิตของยูโรโซนยังคงมีการขยายตัว โดยได้ขยายตัวติดต่อกัน 8 เดือน
      ดัชนี PMI ได้รับแรงหนุนจากการดีดตัวของคำสั่งซื้อใหม่ ส่วนการจ้างงานเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี ขณะที่ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากการคาดการณ์ที่ว่าความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในวงกว้างจะช่วยควบคุมการแพร่ระบาด และหนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น   นอกจากนี้ ดัชนี PMI ภาคการผลิตของยูโรโซน ยังได้ปัจจัยบวกจากภาคการผลิตที่แข็งแกร่งของเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี
 

ดัชนีชี้วัด
วันที่ ประเทศ เวลา รายการ มีผลต่อทอง ประมาณการณ์ ตัวเลขครั้งก่อน
01 มี.ค 64 EUR 15.55 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต เยอรมันนี 60.6 60.6
EUR 16.00 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต ยูโรโซน 57.7 54.8
EUR 20.00 ดัชนีราคาผู้บริโภค เยอรมันนี 0.5 % 0.8 %
USA 21.45 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต - 58.5
USA 22.00 ดัชนีภาคการผลิต สถาบัน ISM 58.8 58.7
02 มี.ค 64 EUR 14.00 ยอดค้าปลีก เยอรมันนี -1.0% -9.6%
EUR 15.55 อัตราการว่างงาน 6.0% 6.0%
EUR 17.00 ดัชนีราคาผู้บริโภค 1.0% 0.9%
03 มี.ค 64 EUR 15.55 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ เยอรมันนี 45.9 46.7
EUR 16.00 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ 44.7 45.4
EUR 17.00 ดัชนีราคาผู้ผลิต 1.0% 0.8%
USA 20.15 การจ้างงานนอกภาคการเกษตร ADP 165 K 174 K
USA 21.45 58.9 58.3
USA 22.00 ดัชนีภาคการบริการ 58.7 58.7
USA 22.00 ดัชนีภาคการบริการ 58.7 58.7
04 มี.ค 64 EUR 17.00 ยอดค้าปลีก ยูโรโซน -1.1% 2.0%
EUR 17.00 อัตราการว่างงาน 8.3% 8.3%
USA 20.30 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน 790 K 730 K
USA 20.30 ผลผลิตนอกภาคการเกษตร -4.7 % -4.8 %
USA 20.30 ต้นทุนค่าจ้างแรงงานต่อหน่วย 6.7 % 6.8 %
USA 22.00 คำสั่งซื้อสินค้าโรงงาน 1.4% 1.1%
05 มี.ค 64 EUR 14.00 คำสั่งซื้อโรงงาน 0.8% -1.9%
USA 20.30 การจ้างงานนอกภาคการเกษตร 140 K 49 K
USA 20.30 อัตราการว่างงาน 6.3% 6.3%
USA 20.30 รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงการทำงาน 0.2% 0.2%
USA 20.30 ดุลการค้า -67.5 B -66.6 B
  • gcap gold facebook
  • gcap gold youtube
  • gcap gold line
  • gcap gold line